นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

นิ่ว คือ ก้อนหินปูนหรือผลึกเกลือแร่ที่เกิดในระบบทางเดินน้ำปัสสาวะ อาจเกิดที่ ไต ท้อไต หรือกระเพาะปัสสาวะ ส่วนประกอบของนิ่วมีหลายอย่าง เช่น แคลเซียม ออกซาเลต กรดยูริก

สาเหตุ ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่มีปัจจัยส่งเสริมหลายอย่าง เช่น

  • ภาวการณ์คั่งค้างของปัสสาวะ เช่น ชายที่มีภาวะต่อมลูกหมากโต ทำให้ปัสสาวะได้ไม่สุด หญิงที่มีพฤติกรรมกลั้นปัสสาวะบ่อยๆ
  • อาหารประเภทที่มีกรดยูริกสูง เช่น เนื้อสัตว์,เครื่องในสัตว์ ผักบางชนิดทีมีออกซาเลตสูง ประเภท ยอดอ่อนผักโขม,ผักติ้ว,หน่อไม้ ก็เป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดนิ่วได้
  • พฤติกรรมการดื่มน้ำน้อยในแต่ละวัน จะทำให้ปัสสาวะมีความเข็มข้นสูงขึ้น ก็จะเป็นปัจจัยส่งเสริมได้
  • เพศชายมีอัตราการเป็นนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะมากกว่าเพศหญิง

อาการ ขึ้นกับว่านิ่วอยู่ในตำแหน่งใด

  • นิ่วไต และนิ่วท่อไต จะมีอาการปวดเอวข้างที่มีนิ่ว,ปวดหลัง ปัสสาวะบ่อยขุ่น หรือปนเลือด
  • นิ่วกระเพาะปัสสาวะ มีอาการถ่ายปัสสาวะลำบาก,ปัสสาวะบ่อย หรือถ้าเม็ดนิ่วไปอุดกันท่อปัสสาวะก็จะปัสสาวะไม่ออก

 

การตรวจ จะมีการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจปัสสาวะ เอ็กซเรย์ร่วมกับ อัลตร้าซาวด์ ไต และปัสสาวะ บางครั้งจะมีการตรวจเอ็กซเรย์ฉีดสารทึบแสง (intravenous pyelography) เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป

 

การรักษา โรคนิ่วทางเดินปัสสาวะ ไม่มีความอันตรายถึงชีวิต แต่ภาวะแทรกซ้อนหรือความก้าวหน้าของโรคจะเป็นสาเหตุให้เกิดอาการรุนแรงอื่นได้ เช่น การติดเชื้อ การรบกวนการทำงานของไต ทำให้ไตวาย

การรักษาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. รักษาแบบไม่ผ่าตัด ใช้ในรายที่เป็นนิ่วไตเม็ดเล็ก และอยู่และอยู่ในตำแหน่งที่ไม่สูงมาก แพทย์จะให้ผู้ป่วยดื่มน้ำให้มากขึ้น พยายามเคลื่อนไหวร่างกาย อาจให้ยาลดปวดร่วมด้วย ในบางครั้งนิ่วจะหลุดลงมาในกระเพาะปัสสาวะ แล้วถูกขับออกมาพร้อมน้ำปัสสาวะได้
  2. รักษาด้วยเครื่องสลายนิ่ว ใช้กับนิ่วในไตที่มีขนาดเล็ก เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงจากภายนอกยิงไปกระแทกให้เม็ดนิ่วแตกออก แล้วขับออกมาพร้อมน้ำปัสสาวะ วิธีนี้จะมีผลดีต่อผู้ป่วย เนื่องจากไม่ต้องผ่าตัด ไม่มีบาดแผล ไม่เสียเลือด หรือได้รับผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัด แต่ผู้ป่วยที่จะใช้วิธีนี้ได้ ต้องผ่านการพิจารณาจากแพทย์ เพื่อดูตำแหน่งของเม็ดนิ่ว และมีผู้ป่วยบางประเภทที่ไม่สามารถใช้วิธีนี้ เช่น ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกง่าย หรือผู้ป่วยที่มีรูปร่างไม่ปกติ เป็นต้น
  3. รักษาด้วยการผ่าตัด ปัจจุบันมีการพัฒนาการผ่าตัดได้หลายแบบ เทคโนโลยีใหม่ จะใช้กล้องวีดิทัศน์ หรือกล้องส่อง มาช่วยในการผ่าตัด อาจมีการใช้เลเซอร์ เพื่อให้นิ่วแตกออกแล้วถูกขับออก